ช้างน้าว
ช้างน้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochna integerrima Merr อยู่ในวงศ์ OCHNACEAE มีถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช้างน้าวในภาคกลางเรียก กำลังช้างสาร ระนองเรียก กระแจะ จันทบุรีเรียก ขมิ้นพระต้น ทางเหนือเรียก ตาลเหลืองช้างน้าวเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดเล็ก สูง 3-8 เมตร แตกกิ่งก้านจำนวนมาก ทรงพุ่มกลม จะผลัดใบพร้อมกับผลิดอกใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอก เรียงแบบสลับ ปลายกิ่งมีกาบค่อนข้างแข็งปลายแหลมหุ้มตาอยู่ ขอบขนานใบ กว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 8-18 เซนติเมตร ปลายใบแหลมเหลืองมน ขอบหยักถี่ๆ แผ่นใบเกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน
ดอกมีลักษณะเป็นช่อดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายยอด มีดอกย่อย 2-8 ดอก จะทยอยบาน ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีเขียวนวล รูปขอบขนาน 5 กลีบ โค้งงอไปหาปลายดอกและติดอยู่ จนกระทั่งเป็นผล กลีบดอกรูปหอก มีจำนวน 5-10 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 เซนติเมตร หลุดร่วงง่าย แต่ละต้นมีดอกบานอยู่ 4-7 วัน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฤดูดอกบานอยู่ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม ส่วนใหญ่ผลัดใบก่อนแล้วออกดอกพร้อมกันทั้งต้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมผลมีสีเขียว ๑-๓ เมล็ด ติดอยู่บนฐานรังไข่สีดำ เมื่อแก่เต็มที่เมล็ดมีสีแดงเปลือกต้นที่มีรสขม ไปปรุงเป็นยา ช่วยให้เจริญอาหารรากไปใช้ขับพยาธิ แก้น้ำเหลืองเสียขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และตัดชำราก ชอบแดดจัด ดินร่วนระบายน้ำดี ทนแล้งได้ดี