ผักเชียงดา
ผักเชียงดามีคุณค่าทางอาหาร และสรรพคุณทางยา ชาวเหนือใช้ใบเชียงดาตำละเอียดพอกที่กระหม่อม หรือนำไปประกอบในตำรับยาแก้ไข้
คุณค่าทางอาหาร ผักเชียงดา 100 กรัม ให้พลังงาน 70 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย โปรตีน 5.4 กรัม ไขมัน 1.5 กรัม คารฺโบไฮเดรต 8.6 กรัม แคลเซียม 78 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 98 มิลลิกรัม เหล็ก 2.3 มิลลิกรัม น้ำ 82.9 กรัม เบต้าแคโรทีน 5,905 ไมโครกรัม ไทอะซิน 0.12 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม วิตามินเอรวม 984 ไมโครกรัม วิตามินซี 153 มิลลิกรัม
พบแกงผักเชียงดาในงานราชพฤกษ์ 2549 ของกลุ่มแม่บ้านที่นำมาแสดงในงานโดยสำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังมีผักสวนครัว อยู่รอบๆ และมีวีดิโอนำเสนอการทำอาหารอีกหลากหลายอย่าง แต่ดูไม่ค่อยรู้เรื่อง เพราะคนรอบๆ ข้างคุยกันส่งเสียงดัง เอาล่ะมาดูเรื่องแกงผักเชียงดากันดีกว่า นอกจากมีแกงเป็นตัวอย่างให้ถ่ายภาพแล้ว ก็มีเอกสารแจกอีกด้วย เราได้ชิมแกงนิดหน่อย รสชาติออกมาทางแกงเลียงใส่มะเขือเทศ คือ ออกเปรี้ยวนิดหนึ่ง รับประทานแล้วอร่อยทำใ้ห้สดชื่น
เครื่องปรุง
ปลาช่อนย่างหรือปลาช่อนแห้ง 1 ตัว
ผักเชียงดา 2 ขีด
มะเขือเทศพื้นเมือง 1 ขีด
เครื่องแกงพริกแห้ง 50 กรัม ประกอบด้วย หอมแดง 3 หัวกระเทียม 2 หัว ตะไคร้ 2 ช้อนโต๊ะ กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำโขลกพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ให้ละเอียด แล้วเติมกะปินำปลาช่อนมาแกะแล้วพักไว้ต้มน้ำให้เดือด และใส่เครื่องแกงที่โขลกเรียบร้อยแล้ว ใส่มะเขือเทศพื้นเมือง ยกตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง ใส่เนื้อปลาช่อนย่างที่แกะไว้ ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นใส่ผักเชียงดา ปรุงรสตามชอบใจกรณีที่ใช้ปลาช่อนแห้ง ให้ต้มปลาช่อนแห้งให้เนื้ออ่อนนุ่มก่อน จึงใส่เครื่องแกงและมะเขือเทศพื้นเมือง ตั้งไฟให้เดือดอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นใส่ผักเชียงดา ปรุงรสตามใจชอบ
ประโยชน์ทางอาหารของแกงผักเชียงดา
ตะไคร้ มีสรรพคุณช่วยขับลม บรรเทาอาการท้องอืด แก้ไข ปวดกล้ามเนื้อ ปัสสาวะขัด และเพิ่มเกลือแร่ที่จำเป็นหลายชนิด เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินเอ
หอมแดง สรรพคุณช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้หวัด คัดจมูก
กระเทียม ช่าวยลดโคเรสเตอรอล กระเทียมมีสารอาหารสำคัญๆ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก วิตามินบี วิตามินซี ไนอาซิน มีฤทธิ์ทางยา เป็นยาฆ่าเชื้อที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องปากระยะแรก